สำนักคิดทั้งสี่ของอะฮฺลุซซุนะฮฺ เกิดขึ้นได้อย่างไรสำนักคิดทั้งสี่ของอะฮฺลุซซุนะฮฺ เกิดขึ้นได้อย่างไร และการอิจญฺติฮาดของพวกเขาได้ถูกปิดได้อย่างไร? สำนักคิดทั้งสี่ของอะฮฺลุซซุนะฮฺ เกิดขึ้นได้อย่างไร และการอิจญฺติฮาดของพวกเขาได้ถูกปิดได้อย่างไร? และใครคือผู้เปิดประตูการอิจญฺติฮาดในซุนนียฺ อีกครั้งหนึ่ง? วิชาการในอิสลามและฟิกฮฺอิสลาม หลังจากเหตุการณ์ในยุคแรกของอิสลาม ปัญหาตัวแทนและเคาะลิฟะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) แล้ว ได้แบ่งออกเป็น 2 ขั้ว,กล่าวคือ วิชาฟิกฮฺที่เกิดหลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งได้นำมาจากอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน และอีกฝ่ายหนึ่งได้นำมาจากบรรดาเซาะฮาบะฮฺ (สหาย) และตาบิอีนของท่านศาสดา ประกอบกับความก้าวหน้าด้านฟิกฮฺได้ก้าวไปอย่างรวดเร็ว และปัญหาด้านฟิกฮฺก็มีมากขึ้น ซึ่งหลังจากอิสลามได้เปิดประตูแล้ว ก็ได้เริ่มเข้าสู่ปัญหาใหม่ๆ มีการค้นคว้าละเอียดมากยิ่งขึ้น และวิชาการด้านฟิกฮฺ, กล่าวคือนับจากเริ่มต้นฮิจญฺเราะฮฺศตวรรษที่ 2 จนถึงช่วงต้นๆ ฮิจญฺเราะฮฺศตรวรรษที่ 4 วิชาการฟิกฮฺฝ่ายอะฮฺลุซซุนนะฮฺ ได้เจริญไปถึงขึ้นสูงสุด และได้มีกาจัดตั้งสำนักคิดที่ 4 ฝ่ายอะฮฺลิซุนนะฮฺ. การอฮิจญฺติฮาดมุฏลัก (หมายถึงการอิจญฺติฮาดในปัญหาฟิกฮฺทั้งหมด โดยมิได้คำนึงถึงสำนักคิดใดเป็นการเฉพาะ) จนกระทั่งปี 665 ในหมู่นักปราชญ์ฝ่ายซุนนียฺได้เจริญถึงขีดสุด, แต่เนื่องจากสาเหตุบางประการวิชาการฟิกฮฺฝ่ายซุนนียฺ ได้ปิดประตูลงซึ่งนอกเหนือจากสำนักคิดทั้งสี่แล้ว สำนักคิดอื่นๆ ได้ปิดตัวลงโดยสิ้นเชิงหรือมิได้ถูกรู้จักอย่างเป็นทางการอีกต่อไป และการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ เช่น ผู้พิพากษา อิมามญุมุอะฮฺ และผู้ออกคำวินิจฉัย (ฟัตวา) ได้ปฏิบัติตามและตกอยู่ในการควบคุมดูแลจากหนึ่งในสำนักคิดทั้งสี่ที่มีชื่อเสียง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ได้มีเสียงมาจากฝ่ายอะฮฺลิซุนนะฮฺ ซึ่งมีใจความคร่าวว่าจะมีการนำเอาหลักอิจญฺติฮาดกลับคืนสู่ การอิจญติฮาดมุฏลักอีกครั้งหนึ่ง, พวกเขาเคยทำการอิจญฺติฮาดในสำนักคิดหนึ่ง ขณะนี้จะมีการอิจญฺติฮาดในระหว่างสำนักคิดทั้งสี่ ประกอบกับปัจจุบันนี้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ต่างๆ ในชีวิตมนุษย์ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงได้มีการขอให้มีการอิจญฺติฮาดมุฏลักเกิดขึ้นมาใหม่ การจัดตั้งบทบัญญัติได้เริ่มต้นในยุคสมัยของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และได้ดำเนินต่อมาจนสิ้นอายุขัยของท่าน. ในมุมมองของชีอะฮฺ, นั้นยอมรับว่าหลังจากท่านศาสดา (ซ็อล น) การอธิบายหรือการตีความต่างๆ เกี่ยวกับแบบฉบับ(ซุนนะฮฺ) ของท่านศาสดา การอธิบายความบทบัญญัติและปัญหาด้านฟิกฮฺ และปัญหาอื่นที่นอกเหนือจากฟิกฮฺ, เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) บุตรหลานสนิทของท่านศาสดา แต่ในมุมมองของฝ่ายซุนนะฮฺ, เซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต่างหากที่มีหน้าที่รับผิดชอบการชี้นำศาสนาและประชาชน การอธิบายความบทบัญญัติและหลักอุซูลฟิกฮฺ ที่นำมาจากซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จนถึงประมาณ 40 ปีเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของบรรดาเซาะฮาบะฮฺ, และหลังจากปีนั้นไปแล้วยังมีเซาะฮาบะฮฺบางท่านยังมีชีวิตอยู่ แต่โดยทั่วไปแล้วบรรดาฟุกาฮา (นักปราชญ์) เป็นผู้อื่นมิใช่เซาะฮาบะฮฺ. หลังจากนั้นหน้าที่ความรับผิดชอบตกเป็นของบรรดาตาบิอีน จนกระทั่งสิ้นฮิจญฺเราะฮฺศตวรรษที่ 1 และได้ดำเนินต่อไปจนกระทั่งเริ่มต้นฮิจญฺเราะฮฺ ศตวรรษที่ 2 ช่วงปรากฏสำนักคิดด้านฟิกฮฺของซุนนะฮฺ ฟิกฮฺของฝ่ายซุนนะฮฺ หลังจากไม่ยอมรับสภาวะการเป็นผู้นำและอิมามะฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) แล้ว พวกเขาก็ได้เลือกแนวทางที่มิใช่แนวทางของลูกหลานของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ในปัญหาด้านฟิกฮฺนั้น พวกเขาได้สอบถามและปฏิบัติตามเหล่าบรรดาเซาะฮาบะฮฺและตาบิอีน. เนื่องจากการใช้ประโยชน์สูงสุดด้านนิติ (ฟิกฮฺ) สืบเนื่องจากปัญหามีมากยิ่งขึ้น, และหลังจากอิสลามได้เปิดตัวแล้วก็ได้เข้าไปสู่ปัญหาใหม่ๆ และมีการค้นคว้าที่ละเอียดยิ่งขึ้น วิชาการด้านฟิกฮฺได้ขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว กล่าวคือเริ่มต้นจากฮิจญฺเราะฮฺศตวรรษที่ 2 จนกระทั่งช่วงเริ่มต้น ฮิจญฺเราะฮฺศตรวรรที่ 4 ฟิกฮฺของซุนนะฮฺ ได้เติบโตจนถึงจุดอิ่มตัว และได้มีการจัดตั้งสำนักคิดทั้งสี่ขึ้นมาในช่วงนี้เอง การก่อตัวของสำนักคิดต่างๆ ด้านนิติในหมู่ของซุนนะฮฺ, เป็นเสมือนปฏิกิริยาทางธรรมชาติที่ว่าปัญหาด้านนิติมีมากยิ่งขึ้น ประกอบกับความต้องการของสังคมอิสลาม และมุสิลมใหม่ที่มีต่อปัญหาบทบัญญัติก็มีมากยิ่งขึ้น แน่นอนในการขยายตัวของสำนักคิดเหล่านี้ บางสำนักคิดก็มาจากอุบายทางการเมือง โดยมีเจตนาที่จะขจัดหรือขับไล่ฟิกฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ออกไป ซึ่งเราไม่สามารถมองข้ามปัญหาเหล่านี้ได้ เนื่องจากการที่รัฐบาลของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) มิได้ปกครองอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้เกิดความว่างเปล่าด้านฟิกฮฺเกิดขึ้น แม้ว่าจะมีบรรดาฟุกาฮาเข้ามาเติมเต็มช่องว่างนั้นก็ตาม
|